king10

royal-words

 อัตชีวประวัติ
ผู้ก่อตั้งสหพันธ์ฯ

As-a-Peace

รายงานการสถาปนา
 สภานานาศาสนาฯ

Peace day_report2011

รายงานประจำปี 2555-2556

coverAnnualreport2555-2556

สานสันติภาพ

 V2013 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้1188
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2991
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้7355
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว16735
mod_vvisit_counterเดือนนี้33737
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว86232
mod_vvisit_counterทั้งหมด2055328

ออนไลน์ 40

WIHW

 


me01 01

menu2 03

menu3 01

menu4 01 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 สัปดาห์ความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนาสหประชาติ

(UN World Interfaith Harmony Week)

องค์การสหประชาติ ได้มีมติประกาศให้สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นสัปดาห์ความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนาสหประชาติ (UN World Interfaith Harmony Week) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจ ความกลมเกลียวและการประสานความร่วมมือกันระหว่างประชาชน ต่างศาสนา ต่างความเชื่อ และความศรัทธาให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งที่สำคัญของวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ

สืบเนื่องมาจากสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ที่ 2 และ เจ้าชายกาห์ซี บิน มูฮัมหมัด แห่งประเทศจอร์แดน ได้เสนอประเด็นสัปดาห์ความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนานี้ต่อที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ มหานครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 23 กันยายน ปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ ทรงตรัสว่า “การต่อต้านพลังอำนาจของการแบ่งแยกที่แผ่ขยายความไม่เข้าใจ และไม่ไว้วางใจกันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประชาชนที่มาจากต่างศาสนา เพราะความจริงที่ว่า มนุษยชาติไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันเพียงเฉพาะการมีผลประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น แต่ยังมีความรักในพระเจ้า และความรักในเพื่อนมนุษย์หรือรักในความดีร่วมกัน (To love God and neighbour or to love the good and neighbour) สัปดาห์นี้ คณะผู้แทนของข้าพเจ้าด้วยการสนับสนุนจากมิตรสหายจากทุกทวีป จึงขอเสนอร่างข้อเสนอมติแห่งสัปดาห์ความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนา ซึ่งเราหวังว่าจะเป็นสัปดาห์พิเศษสำหรับประชาชน ในทั่วโลกที่อยู่ในวัด มัสยิด โบสถ์ หรือศาสนสถานของตนจะนำเสนอคำสอนตามหลักความเชื่อของ แต่ละศาสนา ความเชื่อ ที่ส่งเสริมให้เกิดความเคารพ การให้เกียรติ การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และความร่วมมือเพื่อสันติภาพ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอมตินี้จะได้รับการสนับสนุนจากท่าน”

ร่างข้อเสนอมตินี้ได้นำเสนออย่างเป็นทางการต่อที่ประชุมใหญ่ องค์การสหประชาชาติ ณ มหานครนิวยอร์คโดยเจ้าชายกาห์ซี บิน มูฮัมหมัด อย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2553 และได้รับการยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์

ข้อมติขององค์การสหประชาชาติในหัวข้อ “สัปดาห์ความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนา” นี้ได้รับการสนับสนุนจาก 29 ประเทศ ได้แก่ อัลบาเนีย, อาเซอร์ไบจาน, บาห์เรน, บังกลาเทศ, คอสตาริกา, สาธารณรัฐโดมินิกัน, อียิปต์, เอลซัลวาดอร์, จอร์เจีย, กัวเตมาลา, กูยานา, ฮอนดูรัส, คาซัคสถาน, คูเวต, ลิเบอเรีย, ลิเบีย, มอริเชียส, โมรอคโค, โอมาน, ปารากวัย, กาตาร์, สหพันธรัฐรัสเซีย, ซาอุดิอาระเบีย, แทนซาเนีย, ตูนิเซีย, ตุรกี, สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์, อุรุกวัย และเยเมน ได้มีการยอมรับร่วมกันว่า หลักศีลธรรมของทุกศาสนา ความเชื่อ และความศรัทธา ต่างเรียกหาสันติภาพ การยอมรับความคิดเห็น ของผู้อื่น และการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และการสนทนาระหว่างนานาศาสนาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ โดยประกาศให้สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นสัปดาห์ ความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนา ความเชื่อ และความศรัทธา ส่งเสริมให้ทุกประเทศสนับสนุนในการเผยแพร่ข้อความและค่านิยมแห่งความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนาในวัด โบสถ์ มัสยิด และศาสนสถานอื่นๆ ในระหว่างสัปดาห์นี้ โดยมีพื้นฐานบนความรักในพระเจ้าและความรักในเพื่อนมนุษย์หรือในความดี ตามคำสอน ประเพณีและความเชื่อของศาสนาของตน

      

F1