ปฏิญญาว่าด้วยการสถาปนาสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทย
ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
5 ธันวาคม 2550 วันที่ 21 กันยายน 2554
เนื่องด้วยสังคมและโลกปัจจุบันนี้ยังคงเต็มไปด้วยปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ขาดความ รับผิดชอบ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ขาดศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ซึ่งนํา ไปสู่ความขัดแย้ง ความเกลียดชัง ก่อให้เกิดความรุนแรงถึงขั้นต่อสู่กันด้วยการใช้อาวุธ เป็นการทําลายความถูก ต้อง สันติสุข และสันติภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติและโลก จึงเห็นสมควรเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องนําภูมิปัญญาและพลังแห่งศาสนธรรมของนานาศาสนามาร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆ ของสังคมและโลก ที่มีอยู่ ให้เกิดสันติสุขและสันติภาพอย่างแท้จริง
ดังนั้น เพื่อเป็นการนําพลังความเข้มแข็งของนานาศาสนาซึ่งมี วัตถุ ประสงค์ ร่วมกันที่ จะดําเนินงาน ส่งเสริมศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และสร้างความสามัคคี สันติสุข และสันติภาพให้เกิดขึ้นในทุกระดับของ สังคมได้ จึงมีความจําเป็นต้องตั้งองค์กรกลาง เรียกว่า “สภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพ”ขึ้นในประเทศไทย โดย คณะกรรมการยกร่างโครงการสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพ ซึ่งประกอบด้วยผู้นําระดับสูงของ 5 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ พร้อมด้วยผู้นําองค์กรภาค ประชาสังคม นักวิชาการ ข้าราชการ ทูตสันติภาพ และศาสนิกจากนานาศาสนา โดยมีมูลนิธิสหพันธ์สันติภาพ สากล (ประเทศไทย) เป็นแกนหลักในการดําเนินงานจนเป็นผลสําเร็จ
บัดนี้ได้มีมติร่วมกันให้มีการประกาศสถาปนา “สภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพ”ขึ้นในประเทศไทย ณ วั นที่ 21 กั นยายน 2554 ซึ่งเป็นวันสันติภาพสากลแห่งองค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภกของทั้ง 5 ศาสนา ซึ่งจะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบในปีนี้ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางสุกุมล คุณปลื้ม เป็นประธานในพิธีและสักขีพยานในการลงนามประกาศคําปฏิญญาฯ ร่วมกันของผู้นําจากนานาศาสนา ดังต่อไปนี้
1. เพื่อเสริมสร้างสังคมให้เกิดสันติสุขและนําไปสู่สันติภาพโดยความร่วมมือและความสามัคคีระหว่างนานาศาสนาและพลังแห่งศาสนธรรม จึงขอประกาศสถาปนา “สภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพใน ประเทศไทย”ขึ้น ให้เป็นองค์กรกลางของนานาศาสนาในการขับเคลื่อนพันธกิจร่วมกัน
2. สภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยยึดถือว่าทุกศาสนาเป็นรากฐานของศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ที่ล้วนมุ่งสร้างให้มวลมนุษย์ เป็นคนดี มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มีสติ มีความรัก มีความปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่น โดยไม่คํานึงถึงความแตกต่างทางศาสนา เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรม
3. สภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยยึดถือว่าแต่ละศาสนามีสิ่งยึดเหนี่ยวสูงสุดทางจิตใจ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา มีจารีตประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ และพิธีกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งศาสนิกชน ต่างศาสนาพึงให้เกียรติและความเคารพซึ่งกันและกัน
4. สภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับฟัง และเรียนรู้ร่วมกันบนพื้นฐานของการให้เกียรติ ความเคารพ รัก และปรารถนาดีต่อกันเพื่อเป็นหนทาง ในการสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือ ระหว่างศาสนา เพื่อสันติภาพและสันติสุขของมวลมนุษย์ และ เพื่อให้ศาสนิกชนแต่ละศาสนาได้รู้จัก เข้าใจ และให้เกียรติในจารีตประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ และ พิธีกรรมของศาสนิกชนในแต่ละศาสนา
5. สภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยมุงมั่นในการรวมพลังศาสนธรรมของนานาศาสนา เพื่อเสริมสร้างศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลก
6. สภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยมุ่งมั่นในการดําเนินการเพื่อประโยชน์ สุขและสันติภาพของส่วนรวมอย่างแท้่จริง ไม่ดําเนินการเพื่อผลประโยชน์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยแต่ละศาสนาจัดผู้แทนเข้ามาเป็นกรรมการของสภาฯ เพื่อบริหาร จัดการการดําเนินงานของสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม
7. สภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยมุ่งมั่นในการนําเสนอแนวทางการปฏิบัติและรูปแบบ การก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพนี้ไปสู่นานาประเทศและองค์การสหประชาชาติเพื่อสันติสุข และสันติภาพที่ถาวรของสังคมร่วมกัน
|