ออนไลน์ 46 |
รายงานโครงการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพ – ประเทศไทยเพื่อสันติภาพในประเทศไทยเพื่อนำมาซึ่งการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างศาสนา ลดความขัดแย้ง ส่งเสริมความปรองดองและสันติภาพ และนำภูมิปัญญาและพลังของศาสนธรรมของทุกศาสนามายกระดับคุณธรรมและธรรมาภิบาลในสังคมไทย แนวความคิดของสภานานาศาสนาเริ่มต้นจากการที่ สาธุคุณ ดร. ซัน เมียง มูน ผู้ก่อตั้งสหพันธ์สันติภาพสากล ได้ปาฐกถานำเสนอแนวความคิดของการก่อตั้งสภานานาศาสนาขึ้นในโครงสร้างขององค์การสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2543 เพื่อนำเอาความร่วมมือ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาของผู้นำทางศาสนามาสนับสนุนงานขององค์การสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการเสริมสร้างสันติภาพของโลก แนวความคิดนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางจากผู้แทนทูตถาวรจากประเทศสมาชิกมากกว่า 40 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอประเทศฟิลิปปินส์ต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย บัน คี มูน และความพยายามนี้กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่องในองค์การสหประชาชาติ
เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานนี้ในองค์การสหประชาชาติ ในวันที่ 30 สิงหาคม 2553 มูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล (ประเทศไทย) จึงได้จัดการประชุมปรึกษาหารือในเรื่องดังกล่าวระหว่างผู้แทนระดับสูงของศาสนาต่างๆ นักวิชาการ นักการเมือง ผู้นำหน่วยงานราชการ ผู้นำภาคประชาสังคม และทูตสันติภาพ จำนวน 110 ท่าน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบด้วยกับการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในองค์การสหประชาชาติ และมีมติเห็นพ้องกันเป็นเอกฉันท์ว่า สมควรและจำเป็นที่จะต้องมีการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพขึ้นในประเทศไทยก่อน อันจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการทำงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความร่วมมือระหว่างนานาศาสนา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขความขัดแย้ง และเสริมสร้างสันติภาพในประเทศไทยด้วย ที่ประชุมจึงมีมติให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการยกร่างโครงการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยโดยมีมูลนิธิฯ เป็นผู้เสนอโครงการ เพื่อดำเนินการปรึกษาหารือแนวทาง เนื้อหา และวิธีการการดำเนินการเพื่อให้สภานานาศาสนาฯ นี้ดำเนินการก่อตั้งในประเทศไทยให้ได้อย่างประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการยกร่างโครงการฯ ได้ประชุมอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวน 5 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2553 จนถึง วันที่ 16 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้แทนจากองค์กรหลักของศาสนา นักวิชาการ นักการเมืองและองค์กรภาคประชาสังคมเห็นถึงความสำคัญและเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการยกร่างฯ อย่างพร้อมเพรียง เช่น สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย สมาคมความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา ผู้แทนจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สมาคมฮินดูสมาช โบสถ์พราหมณ์ราชสำนัก สภาประมุขบาทหลวงคาทอลิกแห่งประเทศไทย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา สมาคมนามธารีสังคัต คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบ เรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สมาคมอาจารย์อุดมศึกษาเพื่อสันติภาพโลก สถาบันส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งประเทศไทย ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น ผลจากการประชุมที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาและดำเนินการยกร่างโครงการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยขึ้นเพื่อนำไปเสนอ ขอคำปรึกษา และความร่วมมือจากผู้นำองค์กรศาสนาหลักในประเทศไทยต่อไป เพื่อนำมาซึ่งการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทยให้เกิดขึ้นและดำเนินการอย่างประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
เรื่องที่เกี่ยวข้อง การประชุม“ปรึกษาเพื่อการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในองค์การสหประชาชาติ” สำนักพระพุทธศาสนาฯและมหาเถรสมาคม สนับสนุนการก่อตั้งสภานานาศาสนาฯ
|