king10

royal-words

 อัตชีวประวัติ
ผู้ก่อตั้งสหพันธ์ฯ

As-a-Peace

รายงานการสถาปนา
 สภานานาศาสนาฯ

Peace day_report2011

รายงานประจำปี 2555-2556

coverAnnualreport2555-2556

สานสันติภาพ

 V2013 

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้754
mod_vvisit_counterเมื่อวาน2041
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้8373
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว9542
mod_vvisit_counterเดือนนี้36248
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว28520
mod_vvisit_counterทั้งหมด1175425

ออนไลน์ 5

การประชุม“ปรึกษาเพื่อการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในองค์การสหประชาชาติ”

 

0
1
2
3
4
5
6
7
8.5
8.7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
01/27 
start stop bwd fwd

 

มูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล (ประเทศไทย) โดยความร่วมมือจากคณะอนุกรรมการทูตสันติภาพฝ่ายศาสนสัมพันธ์ ได้จัดประชุมปรึกษาหารือเพื่อการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม 2553 เวลา 13.00 – 18.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคาร UCF หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ โดยมีพลเอกเทอดศักดิ์ มารมย์ รองประธานมูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล (ประเทศไทย) เป็นประธานการประชุม และนายแพทย์เล็ก ทวีเติมสกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากลฯ เป็นผู้นำเสนอเกี่ยวกับแนวคิด วิสัยทัศน์ และการดำเนินงานที่ผ่านมาของความพยายามในการก่อตั้งสภานานาศาสนาในองค์การสหประชาชาติ พลเอก สายหยุด เกิดผล ประธานที่ปรึกษามูลนิธิ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดให้การกล่าวสนับสนุนถึงความสำคัญของแนวความคิดนี้ และนายอัษฎา ชัยนาม กรรมการบริหารมูลนิธิ อดีตผู้แทนทูตถาวรประเทศไทยประจำสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติให้การกล่าวถึงโครงสร้างและระบบการทำงานขององค์การสหประชาชาติ ความเป็นไปได้และประโยชน์ของการก่อตั้งสภาศาสนานี้ในองค์การสหประชาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นผู้แทนหรือผู้นำจากองค์กรต่างๆ ทั้งจากภาคการศาสนา ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการเมือง ภาคการศึกษา นักการทูต รวมทั้งศาสนบุคคล เข้าร่วมจำนวน 101 ท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็น ได้แก่

1.องค์กรศาสนา เช่น สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก สมาคมความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา สำนักจุฬาราชมนตรี คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สภาองค์การมุสลิมแห่งประเทศไทย สภาประมุขบาทหลวงคาทอลิกแห่งประเทศไทย พราหมณ์ราชสำนัก สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา เป็นต้น

2.องค์กรภาครัฐ เช่น กรมศาสนา และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม

3.อดีตทูตถาวรประเทศไทย ประจำสำนักงานใหญ่ องค์การสหประชาชาติ

4.คณะกรรมาธิการของรัฐสภา เช่น กรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ประจำวุฒิสภา คณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะ และวัฒนธรรม ประจำสภาผู้แทนราษฏร คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบ เรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล ประจำวุฒิสภา

5.นักวิชาการและนักการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มหาวิทยาลัยสงขลาณครินทร์ คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันพระปกเกล้า สถาบันอาจารย์อุดมศึกษาเพื่อสันติภาพโลก เป็นต้น

6.องค์กรเอกชน เช่น คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อครอบครัว และเยาวชน ศูนย์ทนายความมุสลิม มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม สหพันธ์ครอบครัวเพื่อความสามัคคีและสันติภาพโลก สหพันธ์สตรีเพื่อสันติภาพโลก สหพันธ์เยาวชนเพื่อสันติภาพโลก เป็นต้น

ความเป็นมา

ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ สาธุคุณ ดร. ซัน เมียง มูน ผู้ก่อตั้งสหพันธ์สันติภาพสากล ได้นำเสนอแนวความคิดในการก่อตั้งสภานานาศาสนาขึ้นในโครงสร้างขององค์การสหประชาชาติ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ มหานครนิวยอร์ก เพื่อนำเอาความร่วมมือ ประสบการณ์ และภูมิปัญญาของผู้นำทางศาสนามาสนับสนุนงานขององค์การสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและเสริมสร้างสันติภาพของโลก ความคิดริเริ่มนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางจากผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางการเมือง นักวิชาการ และผู้นำจากทุกสาขาอาชีพทั่วโลก และได้รับการสนับสนุนจากผู้แทนถาวรประจำองค์การสหประชาชาติจากประเทศสมาชิกมากกว่า ๔๐ ประเทศ จึงทำให้องค์การสหประชาชาติและเลขาธิการสหประชาชาติเล็งเห็นความสำคัญของความร่วมมือระหว่างนานาศาสนาและวัฒนธรรมในการเสริมสร้างสันติภาพของโลก และให้การสนับสนุนความพยายามดังกล่าวมาตามลำดับอย่างต่อเนื่องในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

เมื่อปี พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา สำนักงานใหญ่ของสหพันธ์สันติภาพสากล นานาชาติ ได้เสนอให้เครือข่ายของสหพันธ์สันติภาพสากลในแต่ละประเทศจัดการประชุมเพื่อปรึกษาหารือในเรื่องการก่อตั้งสภานานาศาสนาขึ้นในองค์การสหประชาชาติ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการสนับสนุนความมุ่งหมายข้างต้น ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓ มูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล - ประเทศไทย จึงได้จัดการประชุมปรึกษาหารือในครั้งนี้ขึ้น

ผลสรุปจากที่ประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสำคัญ และความสนใจอย่างมาก ทำให้การประชุมมีการนำเสนอแนวความคิดและการแลกเปลี่ยนที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยมีความเห็นหลักที่มีการเห็นด้วยอย่างเป็นเอกฉันท์ ในบางประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

1.เห็นด้วยในหลักการให้มีการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในองค์การสหประชาชาติ เหตุผลที่ผู้ร่วมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการก่อตั้งสภานานาศาสนาอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้

1)เห็นว่าโดยผ่านศาสนาและศาสนธรรม ประเทศและโลกของเราจึงจะสามารถฟื้นฟูและยกระดับของจิตใจ สติและคุณธรรมของบุคคล ครอบครัว และสังคมได้อย่างแท้จริง อันเป็นหนทางที่จะสร้างสันติภาพและความร่วมมือกันให้เกิดขึ้นกับครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และโลกอย่างประสบความสำเร็จ

2)สภานานาศาสนาจะก่อให้เกิดความปรองดอง ความเข้าใจ ความร่วมมือ และการรวมพลังกันระหว่างศาสนาและศาสนิกชนต่างๆ อันจะกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงสังคมนี้ไปสู่สังคมแห่งสันติภาพสันติภาพและความผาสุกอย่างแท้จริง สภานานาศาสนามีจำเป็นอย่างยิ่งยวดเพราะจะเป็นโอกาสหรือเป็นเวทีในการพบปะ พูดคุย ไกล่เกลี่ย และแก้ไขความขัดแย้งหรือการเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างศาสนาที่อาจเกิดขึ้นได้

2.มีความเห็นสนับสนุนอย่างเป็นเอกฉันท์ให้มีการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพในประเทศไทย การก่อตั้งสภานานาศาสนาในองค์การสหประชาชาติอาจต้องใช้เวลาและอาจมีอุปสรรคในข้อบังคับต่างๆ ซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน จึงเห็นว่าเราควรก่อตั้งสภานี้ในประเทศไทยก่อนและสร้างผลงานให้ผู้นำรัฐบาลได้เห็น เมื่อรัฐบาลประจักษ์เกี่ยวกับสภานี้ก็จะนำเสนอไปยังองค์การสหประชาชาติต่อไปในฐานะของชาติสมาชิก และที่ประชุมยังเห็นพ้องกันว่าในประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการก่อตั้งสภานานาศาสนาเพื่อสันติภาพนี้ เพื่อเป็นเวทีในการแก้ไขความขัดแย้ง เจรจาไกล่เกลี่ย สร้างความเข้าใจและความปรองดองระหว่างศาสนา และเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและการรวมพลังระหว่างศาสนาและศาสนิกชนในการยกระดับจิตใจและส่งเสริมศาสนธรรม คุณธรรม และธรรมาภิบาลให้กับประชาชน ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศไทยในปัจจุบันที่ยังมีปัญหาอีกมาก ที่ประชุมมีความเห็นค่อนข้างตรงกันว่า ลำพังเพียงการบริหารจัดการ หลักกฎหมาย และหลักรัฐศาสตร์ที่เป็นอยู่ปัจจุบันยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดสันติสุข ความสามัคคี และความปรองดองได้ จำเป็นจะต้องมีหลักศาสนามาช่วยยกระดับจิตใจของประชาชนในสังคม

3.ให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อยกร่างภารกิจ และโครงสร้าง วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีดำเนินงาน แหล่งที่มาของงบประมาณ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ฯลฯ ดำเนินการโดยมูลนิธิสหพันธ์สันติภาพสากล (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นองค์กรนิติบุคคล ภาคประชาสังคมที่มีความคล่องตัว โดยเชิญตัวแทนผู้นำนานาศาสนา ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน และผู้แทนภาคประชาชน มาเป็นคณะทำงานยกร่าง ซึ่งจะต้องมีการสร้างหลักนิยม กฎเกณฑ์ และแนวทางที่ชัดเจน

4.เสนอให้มีการทำงานใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมการศาสนา ทำงานสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ และเสนอให้ศึกษาเรียนรู้ปัญหา อุปสรรคจากกรมการศาสนาที่ได้พยายามจัดตั้งสภาศาสนสัมพันธ์แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2548 แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ

5.ให้มีการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่รับรู้ของสังคมเป็นวงกว้าง ประชาชนจำนวนมากสามารถเข้าร่วมได้ และสร้างผลงานความสำเร็จที่ต่อเนื่อง เป็นรูปธรรม และเป็นแก่นสารให้เป็นที่รับรู้

6.ผู้แทนจากคณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม และศิลปวัฒนธรรม ประจำวุฒิสภามีความยินดีที่จะให้นำวาระของการก่อตั้งสภานานาศาสนานี้เข้าไปนำเสนอกับคณะกรรมธิการนี้ของวุฒิสภา และยินดีจะสนับสนุนการทำงานของ UPF ในการก่อตั้งสภานี้ในประเทศไทยและในองค์การสหประชาชาติ

7.ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาแผ่นดินเชิงคุณธรรมซึ่งเป็นองค์การมหาชนภายใต้รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม มีความยินดีที่จะทำงานร่วมกับ UPF และองค์กรเอกชนต่างๆ ผ่านองค์การมหาชนนี้ เพื่อที่จะเข้าไปทำงานร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและภาครัฐบาลต่อไป